บทความวิชาการ

สุกรพื้นเมืองในไทย

อ่านต่อ

สุกรพื้นเมืองในไทย จะเรียกชื่อตามที่อยู่ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า หลังแอ่น พุงหย่อน หนังหนา ตะโพกเล็ก อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ 1.พันธุ์ไหหลำ เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง ขนาดหัวใหญ่ปานกลาง คางหย่อน ไหล่กว้าง พุงหย่อน หลังแอ่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้น้ำหนัก ประมาณ 120 ถึง 150 กิโลกรัม ตัวเมียน้ำหนักประมาณ 90 ถึง 110 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เลี้ยงในภาคกลางและภาคใต้ 2.พันธุ์ควาย ส่วนใหญ่เลี้ยงมากในภาคเหนือ สีคล้ายพันธุ์ไหหลำ หน้าผากมีรอยย่นใบหูใหญ่ปรก ปลายหูเล็ก พุงหย่อน หลังแอ่น ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ไหหลำ ตามีวงแหวนสีขาวรอยดวงตา เติบโตช้า 3.หมูกระโดนหรือหมูราด คล้ายกับพันธุ์ Berkshire ตัวสั้น ป้อม ใบหูเล็กตั้งตรง ว่องไว ปราดเปรียว หากินในป่าเก่ง กระดูกเล็ก เนื้อแน่น 4.พันธุ์พวง ขนแข็ง ผิวหนังหยาบ คางใหญ่ ไหล่กว้าง ตะโพกเล็ก หลังแอ่น พุงหย่อน

การเลี้ยงสุกร

อ่านต่อ

ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและการสุขาภิบาล จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่าง ถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำรายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย